ในการบริหารจัดการโครงการก่อสร้างผู้รับเหมาต้องพิจารณาความเสี่ยงจากฝนตกและพายุพร้อมกับการเตรียมแผนตอบสนองให้เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าจะควบคุมความคืบหน้าและคุณภาพการก่อสร้างโรงงานในช่วงฝนตกและพายุให้เป็นไปตามที่ตกลงไว้กับนักลงทุน
ผลกระทบของฝนตกและพายุต่อการก่อสร้าง
สภาพอากาศที่เลวร้ายไม่เพียงส่งผลกระทบต่อความคืบหน้า แต่ยังสร้างอุปสรรค์และความเสี่ยงในการก่อสร้างอีกด้วย
- การกระทบต่องานถมดิน ขุดดิน และตอกเสาเข็ม: ฝนตกหนักและต่อเนื่องอาจทำให้พื้นดินไม่แข็งแรง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาดินถล่ม ดินทรุดตัวได้ง่ายในระหว่างขุด ดังนั้นผู้รับเหมาต้องหาวิธีการรองรับ และเรื่องนี้จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้น
- ส่งผลกระทบทำให้การทำงานกลางแจ้งไม่ต่อเนื่อง: งานกลางแจ้งต่างๆ เช่น งานสร้างกำแพง เทคอนกรีต การทาสีและฉาบผนัง ฯ จะต้องหยุดชั่วคราวหากฝนตกหนัก
- ส่งผลกระทบทำให้การขนส่งวัตถุดิบล่าช้าลง: การขนส่งวัสดุอาจล่าช้าลงเนื่องจากฝนตกและพายุที่ทำให้ยานพาหนะต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว
- การจัดเก็บวัสดุจะยากขึ้น: พื้นที่เก็บวัสดุต้องมีหลังคาคลุมและมีระบบระบายน้ำที่ดีเพื่อรักษาความแห้งของวัสดุ ป้องกันการน้ำทั่วมน้ำขัง
- ลดความปลอดภัยในการทำงาน: ฝนทำให้พื้นลื่นและเป็นอันตรายต่อการทำงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์เปียกชื้นทำให้เกิดความอันตรายจากไฟฟ้า
ภาพประกอบ
แนวทางการควบคุมความคืบหน้าการก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ ในฤดูฝน
เมื่อวางแผนการก่อสร้างต้องประเมินถึงปัจจัยฝนตกอย่างเสมอ
ระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างโครงการอาจะยาวเป็นหลายเดือนหรือเป็นปีโดยขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการนั้นๆ ดังนั้นการก่อสร้างจะยากที่จะหลีกเลี่ยงช่วงฤดูฝนและพายุ เพราะฉะนั้น ในการวางแผนการก่อสร้างจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงฝนตก ระยะเวลาฝนตกและลมกระโชกของแต่ละเขตเพื่อวางแผนความคืบหน้าให้เหมาะสม ในภาคเหนือฝนตกและพายุมักจะเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ในขณะที่ภาคใต้ฤดูฝนมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน ผู้รับเหมาควรพิจารณาหลีกเลี่ยงการดำเนินงานที่สำคัญเช่น การขุดฐานราก การเทคอนกรีต…ในช่วงพายุฝนฟ้าคะนองของแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งเตรียมมาตรการรับมือกับสภาพอากาศที่เลวร้าย ลดความเสี่ยงของความล่าช้าในการก่อสร้างและความไม่ปลอดภัยในการทำงานเนื่องจากฝนตกพายุ น้ำท่วม น้ำขัง
การจัดระเบียบงานให้เหมาะสม
ในกรณีจำเป็นต้องดำเนินการก่อสร้างในฤดูฝน ผู้รับเหมาต้องจัดระเบียบงานให้เหมาะสม เมื่อสภาพอากาศแห้ง ควรเร่งความคืบหน้าของงานกลางแจ้ง เมื่อฝนตกมาสามารถดำเนินงานก่อสร้างและตกแต่งภายใน ติดตั้งระบบไฟฟ้า… การจัดแผนให้เหมาะสมระหว่างงานกลางแจ้งและในบ้านจะช่วยให้โครงการเสร็จตามแผนโดยไม่ถูกรับผลกระทบจากสภาพอากาศ รวมถึงการใช้ทรัพยากรและเวลาในการก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรการการป้องกันความเสี่ยงจากฝนตกและพายุ
- ผู้รับเหมาจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยฝนตกและพายุเป็นความเสี่ยงในการบริหารจัดการโครงการก่อสร้างโรงงาน และเตรียมมาตรการการป้องกันที่เหมาะสมเสมอ:
- คลุมผ้าใบให้คอนกรีต: ในพื้นที่ที่เพิ่งเทคอนกรีต ควรใช้ผ้าใบคลุมเพื่อป้องกันฝนหนักที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของงาน
- ในกระบวนการถมดินและขุดฐานราก หากเจอฝนตกหนักต้องหยุดงานชั่วคราวและต้องมีมาตรการเสริมแรง เช่น กำแพงกันดินถล่ม เสาเข็มเหล็ก เพื่อป้องกันดินถล่ม ดินทรุด
- จัดพื้นที่ก่อสร้างให้เหมาะสม อนุญาตให้ใช้ผ้าใบคลุมวัสดุเมื่อจำเป็น
- มีแผนการระบายน้ำสำหรับสถานที่กอสร้าง: ต้องทีรางระบายน้ำและบ่อทราบดักน้ำแล้วระบายออกจากสถานที่ก่อสร้าง จัดวางเครื่องสูบน้ำกำลังสูงเพื่อระบายน้ำออกจากบ่อ
- วางแผนการสั่งซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเสียพื้นที่เยอะในการเก็บของพวกนี้
- จัดงานแบบ fast track ในบางส่วนเพื่อให้ทันตามแผน ชดเชยเวลาที่สูญเสียจากฝนตกและพายุ
ดูเพิ่มเติม: หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับเหมาก่อสร้างทั่วไปสำหรับโครงการ
ดูเพิ่มเติม: ปัจจัยช่วยนักลงทุนหาผู้รับเหมาที่น่าเชื่อถือ