ารดำเนินงานก่อสร้างในช่วงมีสภาพอากาศแดดร้อนรุนแรงจะจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมระยะเวลาการก่อสร้าง เช่น ปรับเวลาทำงานให้เหมาะสม บริหารจัดการวัสดุและอุปกรณ์ให้ถูกวิธี ติดตามดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ…
การดำเนินงานก่อสร้างในช่วงฤดูแดดร้อนรุนแรงก็เป็นเรื่องที่เจอเป็นปกติสำหรับการก่อสร้างโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานขนาดใหญ่ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ภาวะ EI Nino และก๊าชเรือนกระจกทำให้สภาพอากาศรุนแรงขึ้นโดยในฤดูร้อนแดดแรงและอุณหหภูมิอาจจะสูงถึง 40 – 42 องศาเซลเซียส ซึ่งการที่อากาศแดดยืดยาวขึ้นและรุนแรงมากขึ้นนอกจากจะส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของคนทำงานแล้วก็ยังก่อให้เกิดปัญหาต่อระยะเวลาการก่อสร้างและคุณภาพของโครงการ เพราะฉะนั้น เมื่อดำเนินการก่อสร้างในช่วงอากาศแดดร้อนผู้รับเหมาจึงต้องมีแผนเพื่อบริหารโครงการและบริหารความปลอดภัยในการทำงานโดยพิเศษเพื่อรับรองสุขภาพให้แก่แรงงานและรับรองคุณภาพรวมถึงระยะเวลาการก่อสร้างของโครงการ
ความเสี่ยงจากการดำเนินการก่อสร้างในช่วงอากาศแดดร้อน
นอกจากการส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานแล้วอากาศแดดร้อนยังทำให้ประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพงานลดลง รวมถึงความปลอดภัยหน้างานก็น้อยลง
- เกิดความอันตรายในการทำงาน: สภาพอากาศแดดร้อนรุนแรงทำให้โอกาศเป็นโรคลมแดด ฮิทสโตรถ หมดแรง…ซึ่งจะกระทบรุนแรงต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน
- ลดประสิทธิภาพการทำงาน: สภาพอากาศแดดร้อนมักทำให้ผู้ปฏิบัติงานตกในภาวะขาดน้ำ อ่อนล้า ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงอย่างไม่น้อย โดยเฉพาะเวลาทำงานกลางแจ้ง
- ส่งผลกระทบต่อวัสดุก่อสร้างและคุณภาพการก่อสร้าง: อุณหภูมิสูงอาจจะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของวัสดุบางชนิด เช่น เมื่อเทคอนกรีตหากเจออุณหภูมิสูงก็จะส่งผลกระทบต่อความทนทานของคอนกรีต อาจจะมีปัญหาคอนกรีตร้าวแตก วัสดุอื่นๆ เช่น เหล็ก เหล็กกล้า ไม้…อาจจะขยายตัวทำให้เกิดการโก่งงอ
- เกิดความเสี่ยงด้านอัคคีภัยมากขึ้น: ในพื้นที่จัดเก็บสารเคมีและวัสดุไวไฟเมื่อเจอกับอุณหภูมิสูงเกินไปอาจจะเกิดไฟไหม้หรือติดไฟง่ายเวลาเจอประกายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดเพลิงไหม้เนื่องจากอุณหภูมิสูง มอเตอร์ร้อนเกิน
- เครื่องจักรขนาดใหญ่จะใช้พลังงานมากขึ้น: อุณหภูมิสูงทำให้อุปกรณ์และเครื่องจักรขนาดใหญ่ต้องใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อรักษาประสิทธิภาพการทำงานและลดความร้อนเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นเหตุทำให้ต้นทุนการผลิตแพงขึ้นและอายุการใช้งานเครื่องจักรลดลง
มาตรการการบริหารความปลอดภัยและระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างในช่วงอากาศแดดร้อน
ปรับเวลาการทำงานให้เหมาะสม
ในช่วงอากาศแดดร้อนรุนแรง อุณหภูมิสูงถึง 38 – 41 เซลเซียสผู้รับเหมาจำเป็นต้องปรับเวลาทำงานให้เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงช่วงเวลาแดดร้อนที่สุดในวัน อาจจะเริ่มงานเร็วขึ้นตอนอากาศยังไม่ร้อนและพักเที่ยงยาวขึ้น เลิกงานตอนเย็นช้าขึ้นหรือทำงานกลางคืน เวลาพักกะของคนงานก็ต้องได้จัดให้เหมะสมและยืดหยุ่นในกลางวัน
ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน
ผู้รับเหมาพิจารณาจัดเตรียมเสื้อติดแอร์ พัดลมอุตสาหกรรม…เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานภายใต้อากาศแดดร้อน ในสถานที่ก่อสร้างต้องจัดให้มีตู้น้ำดื่มในตำแหน่งที่สะดวกเพื่อมีน้ำดื่มเพียงพอตลอด นอกจากนั้นก็ต้องจัดพื้นที่นั่งพักผ่อนที่มีหลังคาให้พนักงานได้มีที่นั่งพักหลบแดด
ควบคุมวัสดุและอุปกรณ์การก่อสร้างให้ถูกวิธี
ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของวัสดุแต่ละชนิดผู้รับเหมาควรมีมาตรการการจัดเก็บให้เหมาะสม วัสดุชนิดขยายตัวและเสียรูปได้ในสภาพอุณหภูมิสูง เช่น ไม้ วัสดุงานสถาปัตย์ ท่อพลาสติก…ต้องได้จัดเก็บในพื้นที่แห้งและมีหลังคาคุม นอกจากนั้น อุปกรณ์และเครื่องจักรที่ขนาดใหญ่ก็ต้องตรวจสอบดูแลถี่ขึ้นเพื่อให้มั่นใจเครื่องจักรออุปกรณ์ชิ้นนั้นทำงานได้เสถียร ไม่เสียชำรุดทำให้งานก่อสร้างถูกหยุดชะงัก
การดูแลคอนกรีตและกำแพงที่สร้างขึ้น
การทำงานคอนกรีตควรทำในช่วงเช้ามืดหรือตอนเย็นเพื่อหลีกเลี่ยงอุณหภูมิสูงทำให้น้ำระบายเร็วและกระทบต่อค่ายุบตัวของคอนกรีต กระทบต่องานสถาปัตย์ เช่น การเสริมแข็ง (hardener) การขัดพื้น หลังจากเทคอนกรีตเสร็จต้องมีวิธีการรักษาความชื้น เช่น ปูผ้าใบและฉีดน้ำ พ่นน้ำ ใช้สารบำรุงพื้นผิว…เพื่อลดความขาดน้ำเนื่องจากน้ำระเหยไว และทำให้เกิดปัญหาแตกร้าวพื้นคอนกรีต
นอกจากนั้น เมื่อสร้างกำแพงก็ต้องมีการฉีกน้ำรักษาความชื้นให้อิฐเพื่อป้องกันอิฐแห้งเกินจะดูดซึมน้ำจากปูนทำให้อิฐกับปูนเกาะตัวกันไม่ดี หลังจากสร้างเสร็จประมาณ 2-3 ชั่วโมงก็ต้องมีการพ่นน้ำหรือฉีดน้ำ…เพื่อลดปัญหากำแพงร้าวจากการหดตัว
เพิ่มการป้องกันอัคคีภัยที่หน้างาน
เพื่อการป้องกันอัคคีภัยอย่างมีประสิทธิภาพก็ต้องมีการจัดเก็บวัสดุที่หน้างานให้เรียบร้อย สารเคมีได้จัดเก็บอย่างปลอดภัย ถูกวิธีในพื้นที่แยก กิจกรรมการตัด เชื่อมต้องมีการกั้นพื้นที่เพื่อป้องกันเพลิงไหม้จากประกายไฟ นอกจากนั้น ที่หน้างานก็ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยอย่างครบถ้วนและต้องมั่นใจว่าพนักงานทุกคนได้ผ่านการฝึกอบรมและเข้าใจวิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิง รวมถึงการจัดให้มีการซ้อมดับเพลิงตามระยะ
อ่านเพิ่ม: มาตรการป้องกันอัคคีภัยสำหรับโรงงาน – ข้อแนะนำจากตำรวจดับเพลิง
มีแผนการบริหารจัดการความปลอดภัยและสุขภาพอย่างพร้อมเสมอ
เพื่อรับมือกับสภาพอากาศแดดร้อนผู้รับเหมาต้องวางแผนเชิงรุกเพื่อติดตามดูแลสุขภาพให้พนักงานสม่ำเสมอรวมถึงการจัดให้มีคนติดตามโดยเฉพาะเพื่อทันพบและจัดการปัญหาที่เกิดจากสภาพอากาศแดดร้อน ผู้รับเหมาควรจัดฝึกอบรม ซ้อมแผนฉุกเฉินที่หน้างาน ซ้อมปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะเน้นถึงเทคนิคการจัดการเมื่อเจอปัญหาโรคลมแดด อ่อนล้า…ควรจัดให้มีตู้ยาที่ตำแหน่งเข้าได้สะดวก จัดให้มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลอย่างครบและมั่นใจว่ามีวิธีการติดต่อกับหน่วยงานสุขภาพใกล้ที่สุด ต้องมีรายชื่อโรงพยาบาลและเบอร์โทรเพื่อติดต่อกรณีฉุกเฉิน
อ่านเพิ่ม: ขั้นตอนการควบคุมความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างโรงงาน
อ่านเพิ่ม: การดูแลความปลอดภัยและระยะเวลาการก่อสร้างโรงงานในช่วงฤดูฝนตกและพายุ