เวียดนามได้ตั้งเป้าว่าในปี 2025 วัสดุก่อสร้างที่ไม่ผ่านการเผาจะมีสัดส่วนที่ 35% ถึง 40% ในจำนวนวัสดุก่อสร้างทั้งหมด ซึ่งจะช่วยลดการปล่อย Co2 มากกว่า 2,5 ล้านตัน/ปีในปี 2025 และลดมากกว่า 3 ล้านตัน/ปีในปี 2030
วัสดุสีเขียวคืออะไร
ตามนิยามของสถาบันวัสดุก่อสร้างและศูนย์กลางทางอุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยแรงงาน วัสดุก่อสร้างได้เข้าใจกันเป็นวัสดุที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติตามแนวโน้มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถรีไซเคิลและย่อยสลายได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
วัสดุก่อสร้างสีเขียวต้องเป็นไปตามมาตรฐานต่อไปนี้ได้อย่างน้อย 1 ข้อ เช่น วัสดุก่อสร้างนั้นๆ ได้ทำมาจากวัสดุรีไซเคิลและสามารถรีไซเคิลได้อีก ในองค์ประกอบของวัสดุนั้นๆ ไม่มีสารที่เป็นอันตราย มีอายุการใช้งานได้ย่างยาวนาน ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ ใช้พลังงานและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ…
ในเวียดนาม แนวโน้มการใช้วัสดุสีเขียวยิ่งวันยิ่งมากขึ้น บริษัทขนาดใหญ่หลายๆ บริษัทได้เลือกสร้างโรงงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเวียดนาม เช่น Coca Cola, Heineken, Ajinomoto เวียดนาม …เพื่อส่งเสริมการนำวัสดุสีเขียวไปใช้ในโครงการก่อสร้างต่างๆ กระทรวงการก่อสร้างได้ประกาศหนังสือเวียนฉบับ 13/2017/TT-BXD โดยกำหนดว่าเริ่มตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2018 ทุกโครงการก่อสร้างที่มีเงินลงทุนจากภาครัฐมากกว่า 30% จะต้องใช้วัสดุก่อสร้างที่ไม่ผ่านการเผา
เวียดนามก็ได้จัดทำกลยุทธ์การพัฒนาสำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้างถึงปี 2030 และแนวทางไปถึงปี 2045 โดยตั้งเป้าหมายวัสดุก่อสร้างที่ไม่ผ่านการเผาจะมีสัดส่วนประมาณ 35% ถึง 40% ในจำนวนอิฐก่อสร้างทั้งหมดของปี 2030 ลดการปล่อย CO2 ได้มากกว่า 2,5 ล้านตัน/ปีในปี 2025 และลดมากกว่า 3ล้านตัน/ปีในปี 2030 (เมื่อเทียบกับปริมาณอิฐเผาจำนวนเท่ากัน)
ดูเพิ่มเติม: ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายการก่อสร้างโรงงาน
มาตรฐานต่างๆ ของวัสดุสีเขียว
ในปัจจุบัน เวียดนามก็เหมือนกับประเทศอื่นๆ ในโลกต่างยังไม่มีมาตรฐานโดยเฉพาะสำหรับวัสดุสีเขียว แต่ว่าในใบรับรองโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในปัจจุบันก็มีข้อกำหนดเกี่ยวกับที่มาและข้อมูลจำเพราะของวัสดุก่อสร้าง
ใบรับรองสีเขียวบางฉบับที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ เช่น ใบรับรองอาคารสีเขียว LEED ของสหรัฐอเมริกาที่ได้ประกาศโดย USGBC เพื่อสามารถขอใบรับรองนี้ได้ โครงการสีเขียวนั้นๆ ต้องใช้วัสดุที่มีแหล่งที่มาจากธรรมชาติสามารถรีไซเคิลได้และองค์ประกอบไม่มีสารที่เป็นอันตราย เช่น formaldenhyde และ VOCs (Volatile Organic Compounds…)
นอกจากนั้น สภาอาคารเขียวแห่งประเทศเวียดนามก็ได้ปรับปรุงพัฒนาใบรับรองอาคารเขียว LOTUS เพื่อใช้เฉพาะกับตลาดการก่อสร้างในเวียดนาม โครงการก่อสร้างที่เป็นไปตามาตรฐานของ LOTUS ต้องใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นวัสดุเชิงยั่งยืน สามารถรีไซเคิลได้หรือผลิตได้อย่างรวดเร็ว ลดการใช้คอนกรีตและวัสดุที่ผ่านการเผาให้มากที่สุด
นอกจากนั้น สถาบันวัสดุก่อสร้างเวียดนามก็ได้ประกาศเกณฑ์บางประการเพื่อประเมินปูนซีเมนต์เขียวตามใบประกาศฉบับ 201/QD-VLXD ของกระทรวงการก่อสร้างที่ประกาศออกมาเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2022 รายละเอียดก็คือ ปูนซีเมนต์เขียวต้องเป็นไปตามเงื่อนไขบางประการเกี่ยวกับการใช้วัตถุดิบ/เชื้อเพลิงทดแทน การใช้พลังงานและการปลดปล่อยมลพิษที่สถาบันวัสดุการก่อสร้างได้กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
เกณฑ์การประเมิน | ค่าที่กำหนด |
1. กำหนดเกี่ยวกับการใช้วัตถุดิบ/เชื้อเพลิงทดแทน | |
ใช้เชื้อเพลิงทดแทน | ถึง 15% |
หรือใช้เศษเสียอุตสาหกรรมเพื่อทำเป็นวัตถุดิบทดแทน | อย่างน้อย39% |
2. ปริมาณการใช้พลังงานและระดับการปลดปล่อยมลพิษ | |
a. สำหรับขั้นตอนการผลิต clinker | |
ปริมาณการใช้พลังงานความร้อน | ≤ 800 kcal/kg clinker |
ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า | ≤ 65 kWh/tấn clinker |
ระดับการปล่อยมลพิษทางอากาศจากเตาเผา | + SO₂ ≤ 200 mg/Nm³ + NO₂ ≤ 800mg/Nm³ + Bụi ≤ 30mg/Nm³ |
b. สำหรับขั้นตอนการบดปูนซีเมนต์ | |
ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า | ≤ 40kWh/ตันปูนซีเมนต์ |
ปริมาณ CO2 ที่ปล่อยออกจากกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ | ≤ 650kg/ตันปูนซีเมนต์ |
เกณฑ์บางประการในการประเมินวัสดุปูนซีเมนต์เขียวของสถาบันวัสดุก่อสร้างเวียดนาม
วัสดุเขียวประเภทต่างๆ ที่ยอดนิยมในเวียดนาม
อิฐไม่ผ่านการเผา
อิฐไม่ผ่านการเผาเป็นหนึ่งในชนิดของวัสดุที่สีเขียวที่ได้ใช้ทดแทนอิฐเผาทั่วไปในโครงการก่อสร้าวเชิงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐ อิฐชนิดนี้สามารถกันเสียง กันความร้อน กันไฟไหม้และกันความชื้นได้ดี โดยเฉพาะมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเนื่องจากไม่ผ่านขั้นตอนการเผา
อิฐไม่เผาได้ทำมาจากเศษหรือผลพลอยหรือวัตถุดิบต่างๆ เช่น เศษหิน ซีเมนต์…ได้อัดขึ้นรูปและแข็งตัวโดยไม่ต้องใช้พลังงานความร้อน ปัจจุบัน อิฐไม่เผามีหลายๆ ชนิดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น อิฐคอนกรีต อิฐทำมาจากเถ้าถ่านหิน อิฐมวลเบาอบไอน้ำ…ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการในการก่อสร้างของแต่ละโครงการนักลงทุนสามารถเลือกตามความเหมาะสม
ปูนซีเมนต์เขียว
ปูนซีเมนต์เขียวเป็นวัสดุได้ผลิตมาจากเถ้าลอย ซึ่งเป็นเศษจากการผลิตในอุตสาหกรรมที่ได้ศึกษาและพัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยี Trenchless ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Louisiana ที่สหรัฐอเมริกา วัสดุชนิดนี้มีความต้านทานกับแรงเสียดทานได้ดีกว่า ทนไฟดีกว่า มีแรงตึงและการเปลี่ยนรูปได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับปูนซีเมนต์ทั่วไป
คอนกรีตสีเขียว
คอนกรีตเขียวได้ทำมาจากกระบวนการผสมระหว่างซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ เถ้าถ่านหินและสารเคมีต่างๆ เพื่อช่วยเกิดการเกาะเข้ากัน…องค์ประกอบหลักๆ เพื่อผลิตคอนกรีตเขียวคือปูนซีเมนต์เขียวและเถ้า เถ้าถ่านหิน ซึ่งช่วยลดปริมาณเถ้าถ่านที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมได้มากมาย จากนั้นช่วยประหยัดวัตถุดิบและรักษาสิ่งแวดล้อม
คอนกรีตเขียวมีความแข็งแรงทนทานสูงและคุณสมบัติอื่นๆ ก็ได้ประเมินว่าดีกว่าเมื่อเทียบกับคอนกรีตทั่วไป โดยเฉพาะความแข็งแรงทนทานในระยะยาว
แผ่นเหล็กลุกฟุกอินทรีย์
แผ่นเหล็กลุกฟุกอินทรีย์เป็นหนึ่งในวัสดุเขียวในการก่อสร้างที่มีน้ำหนักเบามากและได้ผลิตจากวัสดุอินทรีย์ cellulose และ ascrylic ผสมกับสารกันการรั่วซึม asphalt โดยวิธีการผลิตคือผลิตแบบปั๊มแรงดันสูง วัสดุชนิดนี้สามารถกันเสียง กันความร้อนได้ดี จากนั้นช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อย่างดีและทนทานต่อสภาพอากาศที่รุนแรง ไม่ถูกกัดกร่อน เหมาะสำหรับโครงการที่ตั้งอยู่ใกล้ละเล
สีเชิงนิเวศน์
สีเชิงนิเวศน์เป็นสีชนิดหนึ่งที่ไม่มีสารที่เป็นอันตรายสำหรับสุขภาพ เช่น Apeo ฟอร์มาลดีไฮด์ โลหะหนักและสารอินทรีย์ระเหยในระดับต่ำ สีชนิดนี้สามารถใช้โดยตรงโดยไม่ต้องทาสีรองพื้น ง่ายต่อการใช้งาน แห้งเร็ว สามารถทนทานต่อทุกสภาพของอากาศ ป้องกันรังสีและคลื่นที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ดูดซัพ CO2 และมีความทนทานถึง 25 ปี
ดูเพิ่มเติม: สียีดหยุ่น: ทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับอาคารผลิต อาคารอุตสาหกรรมที่เขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
ดูเพิ่มเติม: การบูรณาการเทคโนโลยี IoT ในการบริหารโรงงาน