ประเด็นใหม่ที่สำคัญของมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในภาคการก่อสร้างโรงงาน – อัปเดตปี 2024

รวบรวมข้อมูลที่อัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัย QCVN 06:2022 (ปรับแก้ 2023) และ QCVN 03:2023/BCA เพื่อช่วยให้นักลงทุนและผู้รับเหมาเข้าใจชัดเจนในข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับการออกแบบและติดตั้งระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานและอาคารผลิต

ประเด็นใหม่ที่สำคัญในมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัย QC:06/2022 อัปเดตเดือนตุลาคม 2023

ประเภทโครงการที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัย QCVN 06:2022

มาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัยที่ถูกบังคับใช้ในเวียดนามปัจจุบันมี มาตรฐาน QCVN 06:2022 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2023 และแก้ไข 1:2023 QCVN 06:2022 ที่ประกาศเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2023 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 01 ธันวาคม 2023

แก้ไข 1:2023 มีการปรับแก้กรณีที่ต้องใช้มาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัย: ใช้กับโรงงาน อาคารผลิตที่สร้างใหม่หรือใช้เพียงกับส่วนหรือพื้นที่ที่มีการปรับปรุงซ่อมแซมโดยตรงในกรณีดังนี้:

– ทำให้เปลี่ยนคุณสมบัติในการใช้งานของอาคาร ห้องป้องกันอัคคีภัยหรือทำให้ยกระดับข้อกำหนดในความปลอดภัยด้านอัคคีภัย

– เปลี่ยนวิธีการหนีไฟของชั้นในอาคาร ห้องป้องกันอัคคีภัยหรืออาคารในทางที่ทำให้ลดจำนวนทางหนีไฟหรือลดบันไดหนีไฟลง

– ทำให้เพิ่มระดับความอันตรายด้านเพลิงไหม้และระเบิดของชั้น ห้องป้องกันอัคคีภัยหรืออาคาร

– การเพิ่มขนาดให้ทำให้ยกระดับข้อกำหนดความปลอดภัยสำหรับชั้นในอาคาร ห้องป้องกันอัคคีภัยหรืออาคาร

มาตรฐานความปอลดภัยด้านอัคคีภัยสำหรับโรงงานและอาคารผลิตอัปเดตล่าสุดได้กำหนดชัดเจนกรณีที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัย QCVN 06:2022 เมื่อมีการปรับปรุง ซ่อมแซมโครงการ จากนั้นช่วยให้นักลงทุนและผู้รับเหมาออกแบบ – ติดตั้งระบบอัคคีภัยเข้าใจขั้นตอนและเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับความต้องการเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การซ่อมแซมโครงการ

 

รวบรวมประเด็นใหม่ต่างๆ เกี่ยวกับประเภทโครงการที่ต้องปฏิบัติตาม QCVN 06:2022

รวบรวมประเด็นใหม่ต่างๆ เกี่ยวกับประเภทโครงการที่ต้องปฏิบัติตาม QCVN 06:2022

นอกจากนั้น ข้อกำหนดใหม่บางข้อได้เพิ่มเติมในมาตรา1.5.5 เช่น อนุญาติให้ใช้แนวทางและวิธีการการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่แตกต่างกัน (รวมทั้งแนวทางและวิธีการที่ไม่ได้พูดถึงในมาตรฐานฉบับนี้) เพื่อดำเนินการข้อกำหนดความปลอดภัยด้านอัคคีภัยโดยยึดตามหลักการเพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของข้อกำหนดนั้น

นอกจากนั้น ก็สามารถยอมรับค่าคลาดเคลื่อนในการติดตั้งเมื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับขนาด ระยะห่างในมาตรฐานการติดตั้งและตรวจรับ สำหรับความกว้างและความสูงของทางออกหนีไฟ รูประตู โถงทางเดิน บันได ลิฟต์  ทางหนีไฟและสิ่งคล้ายคลึงจะยอมรับค่าคลาดเคลื่อนอยู่ที่บวกลบ 5%

สำหรับการออกแบบ การวางผังโรงงาน อาคารผลิต

รวบรวมประเด็นใหม่เกี่ยวกับการออกแบบ การวางผังโรงงาน อาคารผลิต

รวบรวมประเด็นใหม่เกี่ยวกับการออกแบบ การวางผังโรงงาน อาคารผลิต

การออกแบบวางผังพื้นที่ทั้งหมดของโรงงานและอาคารผลิตได้มีการกำหนดชัดเจนกว่าเพื่อตอบสนองความต้องการในการป้องกันและระงับอัคคีภัย ต่อไปนี้เป็นบางประเด็นที่สำคัญที่มีการแก้ไขในมาตรฐานความปลอดภัยด้านอีคคีภัย:

– กำหนดเกี่ยวกับระยะห่างระหว่างทางหนีไฟ โถงทางเดินด้านข้าง ระยะห่างที่ไปถึงจุดหนีไฟที่ได้อนุมัติ…เพื่อมั่นใจความสะดวกและความปลอดภัยในการกู้ภัย

–  กำหนดเกี่ยวกับห้องบันไดหนีไฟ: ต้องจัดทำรูระบายควันข้างบนสุดของห้องบันได; พื้นที่จัดบันไดหนีไฟประเภท 2

– ไม่กำหนดป้องกันอัคคีภัยสำหรับห้องในกลุ่ม F5 (กลุ่มใช้ในการผลิต คลังสนิค้าวัสดุ) ที่มีระดับความอันตรายด้านอัคคีภัยที่ระดับ C4-E ห้องเทคนิคควบคุมน้ำ ห้องมีความชื้นหรือความเสี่ยงเกิดไฟไหม้น้อย พื้นที่รับประทานอาหารอย่างเดียว (ไม่มีครัวและคลังเก็บอาหาร) ห้องประชุมภายในและกรณีคล้ายคลึง….

– ข้อกำหนดการป้องกันอัคคีภัยสำหรับพื้นที่มีระดับความอันตรายด้านอัคคีภัยที่ระดับ A,B,C ตามคุณสมบัติการใช้งานและพื้นที่ใช้งานสาธารณะอื่นๆ

– กำหนดการออกแบบพื้นที่กลับรถให้เหมาะสมกับรถดับเพลิงของท้องถิ่น

– ไม่กำหนดเกี่ยวกับการจัดทางเข้าจากบนสูงเมื่อมีวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสมให้หน่วยงานดับเพลิงเข้ามาได้

– ปรับแก้วิธีการกำหนดจำนวนชั้นของอาคารผลิตและคลังสินค้า

– เพิ่มเติมแนวทางการเลือกพื้นที่หลบภัยซึ่งเป็นพื้นที่มีความปลอดภัยและนิยามชัดเจนเกี่ยวกับเขตความปลอดภัย

– เพิ่มวิธีการหาลักษณะต่างๆ เพื่อจัดเรียงอาคาร โครงการ และห้องต่างๆ ที่ใช้เพื่อการผลิตและคลังเก็บสินค้าเข้าระดับต่างๆ ตามความอันตรายด้านเพลิงไหม้และระเบิดที่ได้กำหนดไว้ในมาตรฐานต่างๆ

– เปลี่ยนวิธีการนับความสูงของการป้องกันและระงับอัคคีภัยของโรงงานและอาคารผลิต

ดังนั้น ด้วยข้อกำหนดที่มีการแก้ไขใหม่ในมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัยเกี่ยวกับการออกแบบและโครงสร้างของโครงการ นักลงทุนต้องให้ความสำคัญมากขึ้นในข้อกำหนดการป้องกันเพลิงไหม้ ออกแบบพื้นที่และจัดวางตำแหน่งห้องบันไดและพื้นที่หลบภัยเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบและดำเนินการให้สอดคล้องเพื่อเป็นไปตามครบทุกเงื่อนไขเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัยและมั่นใจความปลอดภัยสำหรับอาคารและโครงการ

เกี่ยวกับขีดจำกัดของการทนไฟของโครงสร้าง/ส่วนประกอบของโครงสร้าง

ประเด็นใหม่เกี่ยวกับขีดจำกัดในการทนไฟของโครงสร้าง/ส่วนประกอบของโครงสร้าง

ประเด็นใหม่เกี่ยวกับขีดจำกัดในการทนไฟของโครงสร้าง/ส่วนประกอบของโครงสร้าง

เกี่ยวกับขีดจำกัดในการทนไฟของโครงสร้างและส่วนประกอบของโครงสร้างในฉบับแก้ไข 1:2023 ก็ได้เพิ่มเติมข้อกำหนดใหม่หลายข้อเพื่อใช้ร่วมกับมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัย QCVN 06:2022 เช่น:

–  กำหนดว่าส่วนป้องกันอัคคีภัยทำมาจากวัสดุไม่ติดไฟหรือวัสดุไวไฟอ่อน (Ch1) ด้วยขีดจำกัดในการทนไฟอย่างน้อย El15 สำหรับอาคารที่มีระดับการทนไฟระดับ II,III,IV

–  ไม่กำหนดขีดจำกัดในการทนไฟของตัวบันไดและชานพักบันไดในห้องบันไดหนีไฟที่ได้ครอบคลุมด้วยผนังที่มีค่าขีดจำกัดในการทนไฟ

– ไม่กำหนดเกี่ยวกับระดับความอันตรายเพลิงไหม้สำหรับวัสดุตกแต่ง ปูผนัง ปูพื้น และวัสดุหุ้มชั้นนอกสุดของผนัง เพดานหรือพื้น

– ไม่กำหนดขีดจำกัดในการทนไฟสำหรับประตูของลิฟต์ที่เปิดออกด้านโถงทางเดินด้านข้าง

– ไม่กำหนดขีดจำกัดในการทนไฟสำหรับผนังกั้นของพื้นที่บันไดหนีไฟประเภท 2 หรือโถงทางเดินที่ทะลุกับบันไดหนีไฟประเภท 2 เมื่อโรงงาน (หรือห้องกันไฟมีบันไดหนีไฟประเภท 2) มีความสูงอัคคีภัยไม่เกิน 9 เมตร พื้นที่ 1 ชั้นไม่เกิน 300 ตารางเมตรหรือเมื่อโรงงานมีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ

– ไม่กำหนดขีดจำกัดในการทนไฟของระบบท่อ ช่องทางควันและท่ออากาศเข้าถ้ามีการสอดคล้องตามเงื่อนไขต่างๆ ของฉบับแก้ไข 1:2023

– อนุญาตให้เพิ่มพื้นที่ช่องเปิดที่ไม่ได้รับการป้องกันเพลิงไหม้เป็นสองเท่าถ้าหากโรงงานหรืออาคารผลิตมีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ อนุญาตให้ใช้วิธีการอื่นๆ เพื่อป้องกันไฟลามตามที่กำหนดในข้อ 4.35 สำหรับช่องประตูจาก E 60 ลงไป

– ไม่กำหนดขีดจำกัดในการทนไฟสำหรับชายคา หลังคาส่วนเสริม หลังคาโถงทางเดิน ห้องโถงนอกบ้าน

เกี่ยวกับระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย

ประเด็นใหม่ต่างๆ เกี่ยวกับระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย

ฉบับแก้ไข 1:2023 ได้เพิ่มเติมและระบุชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับระบบดูดและปล่อยควัน ประตูดูดควันและกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการมีระบบจ่ายน้ำดับเพลิงนอกบ้าน ประเด็นแก้ไขที่สำคัญของมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัยที่ต้องทราบคือ:

– กำหนดอาคารประเภท C ต้องติดตั้งระบบดับเพลิงโดยอัตโนมัติ อาคารมีความสูงในการป้องกันอัคคีภัยตั้งแต่ 21เมตรถึง 25 เมตรต้องได้ป้องกันด้วยระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้และติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติ

– กำหนดระบบดูดและปล่อยควันต้องได้ควบคุมจากทางไกล หรือพร้อมทำงานตลอดเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึน มีหน้าที่ทำให้ควันและผลิตภัณฑ์ที่เผาไม้ผ่านประตูดูดควันไหลออกไปสู่ภายนอก

– กำหนดประตูดูดควัน (ประตูเปิดหรือประตูบานเกล็ด) ได้ควบคุมอัตโนมัติจากทางไกลหรือเปิดตลอด

– กำหนดเกี่ยวกับการติดตั้งระบบจ่ายน้ำดับเพลิงนอกโรงงาน หรือนอกอาคาร: สำหรับอาคารที่อยู่ในขอบเขตการให้บริการของแหล่งน้ำดับเพลิงนอกอาคาร (ถังน้ำ บ่อน้ำ หัวดับเพลิงนอกอาคาร สระน้ำดับเพลิงธรรมชาติ/สระขุด และแหล่งน้ำอื่นๆ อีกด้วย) ก็จะไม่ถูกกำหนดต้องติดตั้งระบบจ่ายน้ำดับเพลิงนอกอาคาร

– ตำแหน่งติดตั้งบ่อน้ำ ถังน้ำ หัวดับเพลิงนอกอาคาร สระน้ำดับเพลิงธรรมชาติและสระขุดต้องตั้งอยู่ในระยะที่สามารถให้บริการได้

– กำหนดให้แต่ละชั้นของโรงงานต้องมีหัวดับเพลิงด้วยจำนวน ตำแหน่ง ขนาดและการติดตั้งที่เป็นไปตามมาตรฐานการออกแบบที่ใช้

– กำหนดเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จ่ายให้กับการดับเพลิงนอกโรงงานหรือนอกอาคารผลิต เพิ่มตาราง 10 เกี่ยวกับปริมาณน้ำสำหรับการจ่ายน้ำดับเพลิงนอกอาคารสำหรับกลุ่มอาคาร F5

– กำหนดเกี่ยวกับระยะเวลาดับเพลิงและระยะเวลาในการฟื้นระดับน้ำดับเพลิงที่สำรอง

จากนั้นให้เห็นว่า การแก้ไขมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัยล่าสุดได้มีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณน้ำรวมถึงระยะเวลาทำการดับเพลิงและระยะเวลาในการฟื้นระดับน้ำสำรอง ประเด็นใหม่ต่างๆ ของมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัยช่วยนักลงทุนเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบ ตำแหน่งและปริมาณของถังหรือบ่อเก็บน้ำอย่างชัดเจนกว่า จากนั้นสามารถทำการออกแบบและติดตั้งได้ง่ายขึ้นและสอดคล้องครบทุกเงื่อนไขในความปลอดภัยด้านอัคคีภัยสำหรับอาคารและโครงการ

ประเด็นใหม่ในมาตรฐาน 03:2023/BCA เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย

หนังสือเวียนที่ประกาศใช้มาตรฐานแห่งชาติเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย QCVN 03:2023/BCA ที่กระทรวงความมั่นคงสาธารณะประกาศเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2023 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 01 เมษายน 2024 มาตรฐานกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย กำหนดเกี่ยวกับการบริหารและการดำเนินกิจกรรมการตรวจเทียบอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยที่อยู่ในรายการอุปกรณ์ต้องทำการตรวจเทียบก่อนนำมาในตลาดเวียดนาม

ประเด็นใหม่เกี่ยวกับมาตรฐานทางเทคนิคของอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยในมาตรฐาน QCVN 03:2023

ทางเทคนิคสำหรับอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย: ปั๊มน้ำดับเพลิง ท่อดับเพลิง หัวฉีดดับเพลิง หัวดับเพลิง ข้อต่อดับเพลิง ถังดับเพลิง ถังดับเพลิงพกพา ถังดับเพลิงมีล้อ ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีเปิดใช้อัตโนมัติ ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีเปิดใช้อัตโนมัติแบบแขวน ถังดับเพลิงชนิดลมเปิดใช้อัตโนมัติ ผงเคมีดับเพลิง น้ำยาโฟม

– กำหนดชัดเจนเกี่ยวกับมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับอุปกรณ์แจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้: ระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้โดยอัตโนมัติ หัวตรวจจับไฟอัตโนมัติ  หัวตรวจจับสัญญาณผสม หัวตรวจจับไฟ หัวตรวจจับควันตาแมว อุปกรณ์ตรวจจับควันไอออนไนซ์ หัวตรวจจับจุด อุปกรณ์ตรวจจับควันที่ใช้เทคโนโลยีดูด/หัวตรวจจับควันแบบดูด อปุกรณ์ตรวจจับควันที่ใช้ในระบบท่อต่างๆ ปุ่มกดแจ้งเตือนเพลิงไหม้

– กำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับหัวฉีดน้ำดับเพลิง: หัวกระจายน้ำดับเพลิง springker หัวกระจายน้ำดับเพลิง drencher

– กำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับแสงสว่าง: ไฟฉุกเฉิน ไฟทางหนไฟฉุกเฉิน

– กำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานทางเทคนิคของงวด (batch)

– กำหนดให้อุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยที่องค์กร หรือบุคคลผลิตที่หรือนำเข้ามาต้องแจ้งมาและสอดคล้องกับรายการอุปกรณ์ที่ได้กำหนดในมาตรฐาน QCVN 03:0001

–  กำหนดเกี่ยวกับการบริหาร ดูแลและรักษาอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยตามข้อกำหนดของกฎหมาย

– กำหนดอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยต้องได้ตรวจเทียบตามข้อกำหนด

ดังนั้น เมื่อเทียบกับมาตรฐานฉบับเก่ามาตรฐานฉบับ QCVN 03:2023 ได้มีการเพิ่มเติมและกำหนดละเอียดครอบคลุมกว่าในมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย ซึ่งการแก้ไขนี้ช่วยนักลงทุนมั่นใจมากขึ้นในการประยุกต์ใช้และติดตั้งระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยอย่างความปลอดภัยตามข้อกำหนด

ข้างต้นเป็นประเด็นใหม่ต่างๆ ในมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัยที่นักลงทุนสามรถศึกษาอ้างอิงเพื่อให้เข้าใจมาตรฐานใหม่ในความปลอดภัยด้านอัคคีภัยปัจจุบันและมีวิธีการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ที่มาของข้อมูล: 
1. กระทรวงการก่อสร้าง – หนังสือเวียน 09/2023/TT-BXD แก้ไข 1:2023 QCVN 06:2022/BXD มาตรฐานด้านเทคนิคแห่งชาติเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอัคคีภัยสำหรับอาคารและโครงการ
2. กระทรวงการก่อสร้าง – QCVN 06:2022/BXD มาตรฐานด้านเทคนิคแห่งชาติเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอัคคีภัยสำหรับอาคารและโครงการ

อ่านเพิ่ม: ข้อควรระวังเมื่อออกแบบและติดตั้งระบบเครื่องกลไฟฟ้าสำหรับโรงงาน

อ่านเพิ่ม: แนวโน้มการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมปี 2024

 

แบ่งปัน