ในปี 2023 บริษัท FDI ต่างๆ ได้มีส่วนร่วม 259,95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 73,1% ในมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และภาคการผลิตเพื่อการส่งออกกลายเป็นภาคส่วนที่ดึงดูดการลงทุน FDI มากที่สุดในเวียดนามเนื่องจากมีนโยบายการสนับสนุนภาษีที่ดี
เวียดนามดึงดูดบริษัท FDI จำนวนมากลงทุนเข้าภาคการผลิตเพื่อส่งออก
จากข้อมูลสถิติของกรมศุลกากรนับถึงเดือนธันวาคม 2023 มูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศคือ 337,62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในนั้น สินค้า 7 ประเภทของภาคการผลิตเพื่อการส่งออก ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน สิ่งทอและรองเท้าหนัง สินค้าจากไม้ เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์และอะไหล่ คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบที่มีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและคิดเป็น 66,8% ในมูลค่าการส่งออกของทั้งประเทศ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โครงการ FDI ขนาดใหญ่หลายโครงการได้มีส่วนร่วมมากมายในภาคการผลิตเพื่อการส่งออกและมูลค่าการส่งออกของเวียดนาม ในปี 2023 บริษัท FDI ต่างๆ ได้มีส่วนร่วม 259,95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 73,1% ในมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และเป็น 99,6% ในมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของโทรศัพย์ มากกว่า 98% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ 93% ในมูลค่าการส่งออกเครื่องจักรทั้งหม
นับถึงปัจจับัน เวียดนามมีนิคมอุตสาหกรรม 414 แห่ง ในนั้นมีเขตการดำเนินการเพื่อส่งออก 4 แห่งได้จัดตั้งขึ้นในพื้นที่ทั้งหมด 128,126 เฮกตาร์ ช่วยดึงดูดบริษัท FDI ขนาดใหญ่หลายแห่งมาสร้างโรงงานผลิตเพื่อการส่งออก เช่น Toyota, Samsung, Adidas, Apple…
ทำไมบริษัท FDI ต่างๆ ถึงลงทุนเข้าภาคการผลิตเพื่อส่งออกในเวียดนาม
ปัจจุบันเวียดนามกลายเป็นประเทศที่น่าลงทุนเข้าบริษัทผลิตเพื่อส่งออก (EPE) สำหรับบริษัทต่างชาติเนื่องจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจ – การเมืองที่มั่นคง การฟื้นฟูอย่างดีหลังจากโรคโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวียดนามมีทรัพยากรแรงงานมากมายและค่าแรงราคาถูก ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญเพื่อดึงดูดนักลงทุน FDI จากรายงานของสำนักงานสถิติทั่วไป เวียดนามอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีค่าแรงแข่งขั้นอันดับแรกโดยมีเงินเดือนเฉลี่ย 334 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน ซึ่งต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น ไทย 603 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน มาเลเซีย 982 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน กัมพูชา 543 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน สิงคโปร์ 5.600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน …
นอกจากนั้น เวียดนามยังเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรี เช่น FTA และ ATIGA เพื่อช่วยบริษัทต่างๆ ได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีส่งออกไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะบริษัทผลิตเพื่อการส่งออกที่ลงทุนในเวียดนามยังได้รับนโยบานการสนับสนุนจากรัฐบาล เช่น:
- ยกเว้นภาษีส่งออก/นำเข้า: บริษัทผลิตเพื่อส่งออกได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าที่สร้างทรัพย์สินถาวรและได้ยกเว้นภาษีส่งออกสำหรับสินค้าส่งจากเขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศตามกฤษฎีกาฉบับ 134/2016/ND-CP
- ได้รับการสนับสนุนทางภาษีเงินได้นิติบุคคล: บริษัทที่ดำเนินโครงการลงทุนใหม่ในเขตที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจ – สังคมยากลำบากจะได้รับสนุบสนุนภาษีพิเศษ 20% ภายในเวลา 10 ปี และได้ยกเว้นภาษีเพิ่มเติมภายในเวลา 2 หรือ 4 ปี ลดภาษี 50% ภายในเวลา 4 ถึง 9 ปี ตามกฤษฎีกาฉบับ 218/2013/ND-CP
- ได้รับการสนับสนุนค่าการใช้ที่ดิน: บริษัทผลิตเพื่อการส่งออกได้รับการยกเว้นค่าเช่าที่ดินถึง 7 ปีตามกฤษฎีกาฉบับ 46/2014/ND-CP
การสนับสนุนการลงทุนสำหรับบริษัทผลิตเพื่อส่งออกในเวียดนาม
นอกจากนั้น ผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา – จีน ก็ทำให้สินค้าหลายประเภทที่ส่งออกจากประเทศจีนถูกปรับภาษีแพงขึ้น บริษัทต่างประเทศในจีนหาทางถอยออกจากตลาดแห่งนี้และบางบริษัทขนาดใหญ่ได้ย้ายส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตไปยังประเทศเวียดนาม
อีกปัจจัยที่สำคัญคือแนวโน้มการบริโภคของโลกกำลังเปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อมและยั่งยืน ในขณะเดียวกัน เวียดนามเป็นประเทศมีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวเนื่องจากรัฐบาลได้ออกนโยบายดึงดูดและสร้างเขตอุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออกเชิงนิเวศ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นปัจจัยที่น่าสนใจให้หลายๆ บริษัท FDI เข้ามาลงทุนในภาคการผลิตเพื่อส่งออกในเวียดนาม
แนวโน้มการพัฒนาของภาคการผลิตเพื่อส่งออกในเวียดนาม
ในกลยุทย์การพัฒนาอุตสาหกรรมในเวียดนามถึงปี 2025 วิสัยทัศถึงปี 2035 เวียดนามได้ได้กำหนดทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยทั่วไปและภาคการการผลิตเพื่อส่งออกโดยเฉพาะตามทิศทางการพัฒนาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นในเทคโนโลยีขั้นสูงและเขตส่งออกเทคโนโลยีชีวภาพ เวียดนามกำลังค่อยๆ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตสู่อุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง มีมูลค่าการส่งออกมาก ปรับเปลี่ยนจากการเน้นปริมาณไปเน้นคุณภาพ
เวียดนามส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้ากระบวนการผลิต สำหรับเขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกที่เพิ่งจัดตั้งใหม่กำหนดต้องมีโรงงานรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย เน้นถึงการดึงดูดการลงทุนโดยมีการคัดเลือกและให้ความสำคัญกับโครงการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ใช้แรงงานน้อยลงและผลิตสินค้าส่งออกที่มีความแข่งขันสูงในตลาด
สำหรับโครงการวางแผนและขยายเขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกจะให้ความสำคัญในโครงสร้างพื้นฐานทางทางขนส่ง เวียดนามส่งเสริมการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกที่จังหวัดที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่สะดวก จัดสร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และรัฐบาลดิจิทัลเพื่อลดประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทเมื่อเข้ามาลงทุนในเวียดนาม
ความท้าทายที่ภาคการผลิตเพื่อส่งออกในเวียดนามกำลังเผชิญ
นอกจากความสะดวกที่มีอยู่ ภาคการผลิตเพื่อส่งออกในเวียดนามยังต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย เช่น ต้องแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ส่งออกที่มีชื่อเสียงและมีกระบวนการผลิตที่ทันสมัยจากประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคและโลก การตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานเป็นมิรกับสิ่งแวดล้อมในเวียดนามยังคงค่อนข้างช้าในขณะที่ข้อกำหนดเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการปล่อยมลพิษยิ่งวันยิ่งมีความเร่งด่วน แนวโน้มการใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและผลิตภัณฑ์ยั่งยืนจะมากขึ้นทุกวัน
นอกจากนั้น อุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในเวียดนามยังคงมีมูลค่าเพิ่มน้อย ความแข็งแรงภายในของอุตสาหกรรมยังอ่อนแอและขึ้นอยู่กับการลงทุนต่างประเทศเป็นอย่างมาก อีกประเด็นหนึ่งคือ ระดับความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของหลายๆ บริษัทยังมีความจำกัด อุตสาหกรรมที่ได้ให้ความสำคัญพัฒนายังไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
เพื่อแก้ไขปัญหาที่ภาคการผลิตเพื่อส่งออกกำลังเผชิญอยู่ เวียดนามได้จัดทำนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น ออกพระราชกฤษกาฉบับ 50-NQ/TW พระราชกฤษฎีกาฉบับ 667/QD – TTg… เพื่อปรับปรุงการบริหาร เพิ่มคุณภาพปละประสิทธิภาพการลงทุนจากต่างประเทศ จากนั้นจะช่วยดึงดูดนักลงทุน FDI และเพิ่มมูลค่าการส่งออกของภาคการผลิตเพื่อส่งออกในเวียดนาม
อ่านเพิ่ม: สิ่งที่นักลงทุนต่างชาติต้องทราบเกี่ยวกับกฎหมายการลงทุนในเวียดนาม – อัปเดตปี 2023