การที่องค์กร FDI ลงทุนสร้างโรงงานและพัฒนาธุรกิจในเวียดนามได้นำงานนับเป็นล้านล้านมาให้แก่แรงงานในท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การจัดหาและบริหารแรงงานในเวียดนามก็ยังประสบอุปสรรคอย่างมากมาย เนื่องจากความขัดแย้งทางบุคลิกภาพและวัฒนธรรมระหว่างนักลงทุนและแรงงานเวียดนาม ด้านล่างนี้คือบุคลิกภาพบางอย่างของชาวเวียดนามที่นักลงทุนควรรู้ก่อนเข้ามาทำงานกับแรงงานเวียดนาม
ภาษาและภูมิภาค
เวียดนามเป็นประเทศที่มี 54 ชนเผ่าพี่น้อง ได้แก่ กินห์ ม้ง เตย์ ไทย เจียไร เอเด เขมร … ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกินห์ ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ที่ราบสูงตอนกลาง และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเวียดนาม เป็นไปได้ที่จะพบกลุ่มที่เป็นเชาชาติพันธุ์ที่อาศัยและทำงาน แต่ส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษา Kinh ในลักษณะพื้นฐานได้ Kinh – ภาษาเวียดนามเป็นภาษาราชการในเวียดนามซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในเอกสารทางกฎหมายและชีวิต
เกี่ยวกับภูมิศาสตร์วัฒนธรรม ชาวเวียดนามแบ่งออกเป็น 3 วัฒนธรรมหลักตามภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ บทความนี้จะพูดถึงบุคลิกภาพทั่วไปบางประการของชาวเวียดนามในทั้ง 3 ภูมิภาค
ลักษณะของคนเวียดนาม
ฉลาดเฉลียว ละเอียด
คนเวียดนามมักมีความชำนาญในงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและความแม่นยำ หลายคนสามารถซ่อมระบบไฟฟ้า ระบบท่อน้ำที่บ้านได้เอง หรือตรวจสอบและบำรุงรักษารถมอเตอร์ไซค์และจักรยานเมื่อมีปัญหาเล็กน้อย แต่ว่า ในการทำงาน คนเวียดนามมักจะยากต่อการรักษาความฉลาดเฉลียวและละเอียดอ่อนนี้ไว้ มักมีสมาธิในการทำงานได้สักพักเดียวตอนเร่มต้น ไม่ค่อยสนใจถึงระดับความสมบูรณ์แบบของผลิตภัณฑ์สุดท้าย
“ชั่วโมงยาง”
โดยทั่วไป จิตสำนึกในเรื่องเวลาของชาวเวียดนามค่อนข้างแย่ เขาจะพลาดเวลาขึ้นรถไฟได้ง่าย พลาดการนัดหมาย และไม่คิดว่ามันเป็นปัญหาใหญ่ พนักงานชาวเวียดนามยังถูกกล่าวหาว่าไม่เคารพต่อคำสัญญาเกี่ยวกับเวลาในการทำงาน เมื่อทำงานในบริษัทต่างประเทศ ชาวเวียดนามต้องมีเวลาเพื่อเอาปรับปรุงะจุดอ่อนนี้
แรงงานเวียดนามจำเป็นต้องแก้ไขจุดอ่อนในเรื่องเวลาเมื่อทำงานในบริษัทต่างประเทศ
ภาพประกอบ
ภาคภูมิใจในตนเองสูง
คนเวียดนามมีศักดิ์ศรีสูงและไม่อยากให้ผู้อื่นเห็นความผิดพลาดของตนเอง ต่างจากคนญี่ปุ่น คนเวียดนามไม่ง่ายที่จะพูดออกมาว่า “ฉันทำไม่ได้” หรือ “ฉันไม่มั่นใจ” เมื่อต้องเผชิญกับงานที่ตนเองมีความสามารถไม่พอเพื่อจะทำ เรื่องนี้อาจจะทำให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อกระบวนการปฏิบัติงานและผลลัพธ์ที่ของงาน
คนเวียดนามไม่ชอบถูกวิพากษ์วิจารณ์ / เตือนต่อหน้าผู้อื่น ดังนั้นผู้บริหารองค์กร FDI จึงต้องให้ความสนใจกับเรื่องนี้เมื่อบริหารแรงงานเวียดนามในโรงงาน
ให้ความสำคัญกับครอบครัว
เนื่องจากอิทธิพลของลัทธิขงจื๊อ วัฒนธรรมเวียดนามจึงให้ความสำคัญกับครอบครัวเป็นอย่างมาก เขาคิดว่าการใช้เวลาอยู่กับครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้นหากมีงานครอบครัว (งานแต่งงาน งานศพ การสร้างบ้านใหม่ คนป่วย …) คนเวียดนามจะเลือกขอลาพักร้อนแทนที่จะมุ่งทำงานที่บริษัท หากไม่ได้รับอนุมัติ คนงานบางคนก็พร้อมที่จะลาออกจากงานเพื่อเข้าร่วมงานสำคัญต่างๆ ของครอบครัว
รับรู้อย่างรวดเร็ว
คนเวียดนามกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ เข้าใจไว แต่ไม่ค่อยเรียนรู้ “ตั้งแต่ต้นจนจบ” ดังนั้นความรู้จึงไม่เป็นระบบและสูญเสียพื้นฐาน นอกจากนี้ การเรียนรู้ไม่ใช่เป้าหมายส่วนตัวของคนเวียดนามทุกคน (เด็กๆเรียนเพื่อครอบครัว พอโตจะเรียนเพื่อศักดิ์ศรี เพื่อหางาน ไม่ใช่เพื่ออุปนิสัยและความหลงใหล)
จากการวิจัยของ American Institute of Social and Shirofune
Tâm lý công nhân Việt Nam khi đàm phán lương